![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
ข่าวเด่น
|
เบต้าคาโรทีนอาจไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จะเป็นอันตรายขึ้นมาหากร่างกายได้รับสารเคมีประเภทคาร์ซิโนเจนจากควันบุหรี่และสิ่งแวดล้อม ในมนุษย์โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ ระดับเอนไซม์นี้ที่สูงอาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งได้
คนจำนวนมากเชื่อว่า การได้รับสารแอนติออกซิแดนท์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง แต่เราก็ยังไม่เข้าใจการทำงานที่แท้จริงของสารนี้ในร่างกาย เราจึงควรมีการศึกษาให้มากขึ้นก่อนจะมีการใช้สารนี้อย่างแพร่หลาย
แอนติออกซิแดนท์เป็นสารประกอบที่ทำการต่อสู้กับสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า อนุมูลอิสระ ที่คอยทำลายเซลล์ในทางที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้
มีการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า เบต้าคาโรทีนในผักและผลไม้อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดและมะเร็งอื่นได้
แต่นักวิทยาศาสตร์จากสาขาแพทย์ของมหาวิทยาลัยแห่งเท็กซัสและมหาวิทยาลัยแห่งโบโลญญ่าในอิตาลี มีผลการศึกษาที่แสดงว่า หนูที่ได้รับเบต้าคาโรทีนจะมีการเพิ่มของโปรตีนที่ชื่อ ไซโตโครม P450s ที่จะมีปฏิกิริยากับสารคาร์ซิโนเจน
เอนไซม์อันตรายตัวนี้จะมีปฏิกิริยาที่ดีขึ้นในหนูที่ได้รับเบต้าคาโรทีน นักวิจัยเกรงว่าจะเกิดผลเช่นเดียวกันในมนุษย์ ถ้าโปรตีนตัวนี้มีปฏิกิริยามากเกินไป เราก็จะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งสูงขึ้นทุก ๆ ครั้งที่เราได้รับคาร์ซิโนเจน อย่างเช่นเวลาที่เราสูบบุหรี่ -29 เมษายน 2542-
แหล่งข่าว
Lycos News