![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
ข่าวเด่น
|
พายุบนดาวอังคาร ในกรอบคือภาพขยายพายุนี้
กล้องอวกาศฮับเบิลถ่ายภาพพายุไซโคลนบริเวณขั้วเหนือ
ของดาวอังคารได้ เป็นพายุหมุนที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน
โดยมีขนาดหน้าตัดประมาณ 1,600 กิโลเมตร
ตรงกลางเป็นช่องว่างที่เรียกว่า "ตา" ขนาด 300 กิโลเมตร
พายุหมุนนี้มีขนาดใหญ่กว่าที่เราเคยสังเกตเห็น
บนดาวอังคารเกือบสามเท่า
สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ พายุหมุนนี้ประกอบขึ้นจากเมฆน้ำแข็งแทนที่จะเป็นพายุฝุ่นอย่างที่เคยพบ โดยแถบเมฆนี้หมุนวนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาทำให้มีรูปร่างที่มองแล้วคล้ายกับพายุเฮอริเคนบนโลกของเรา โดยพายุเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนของซีกดาวอังคารเหนือ หลังจากที่ฤดูร้อนมาเยือนและทำให้แผ่นคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง ที่ปกคลุมขั้วเหนือของดาวระเหยขึ้นมา โดยพายนี้อยู่ในตำแหน่งประมาณเส้นรุ้งที่ 65 องศาเหนือ และเส้นแวง 85 องศาตะวันตก
ภาพพายุที่ถ่ายห่างกันหกชั่วโมงในวันที่ 27 เมษายน 2542 แสดงว่า พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย โดยสังเกตเหตุว่าพายุทำท่าจะสลายตัวด้วย ซึ่งภาพถ่ายล่าสุดจากกล้องฮับเบิลก็ไม่สามารถสังเกตพายุได้อีก นักดาราศาสตร์คาดว่า นี่คงเป็นปรากฏการณ์ช่วงสั้น ๆ เท่านั้น
ก่อนหน้านี้ ยานอวกาศไวกิ้งก็เคยถ่ายภาพพายุหมุนเล็ก ๆ บนดาวอังคารได้มาบ้างเหมือนกัน แต่เป็นพายุที่อยู่ใกล้กับขั้วเหนือมากกว่าลูกนี้ พายุหมุนที่สังเกตได้ครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก และต้องเชื่อมโยงกับสภาวะอากาศจำเพาะที่เกิดขึ้นในซีกดาวเหนือใกล้กับขั้วดาว ในช่วงฤดูกาลนี้ และพายุคล้าย ๆ กับแบบนี้ก็มีเกิดขึ้นบริเวณขั้วโลกของเราด้วยเหมือนกัน
แหล่งข่าว
CNN