|
|
|
ข่าวเด่น
|
ระหว่างปี พ.ศ.2502 ถึง พ.ศ.2537 มีผู้เสียชีวิตจากฟ้าผ่า 3,239 ราย และบาดเจ็บ 9,818 คน การทำความเข้าใจกลไกการเกิดฟ้าผ่าอาจจะช่วยลดการสูญเสียที่ประเมินเป็นเงินถึง 35 ล้านเหรียญฯ ได้
ในการประชุมล่าสุดเกี่ยวกับฟ้าผ่าที่ กันต์เทอร์สวิลล์ อะลาบลามา นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากนาซาได้นำเสนอ
ผลการศึกษารูปแบบฟ้าผ่าทั่วโลกซึ่งเก็บข้อมูลจากเครื่องมือที่ทำให้เราเห็นฟ้าผ่าจากเหนือเมฆ
ฮิวช์ คริสเตียน จากศูนย์สภาพอากาศและความชื้นในฮันต์สวิลล์กล่าวว่า ฟ้าผ่าค่อนข้างอ่อนไหวไปกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่แตกต่างกันไปทุกปี จากการค้นพบของพวกเขาแสดงให้เห็นว่า ฟ้าผ่าเกิดขึ้นในพายุเหนือแผ่นดินง่ายกว่าพายุที่เกิดเหนือมหาสมุทร และมักจะเกิดขึ้นช่วงบ่าย โดยจะแปรผันไปตามฤดูกาล
เหนือแผ่นดิน ฟ้าผ่าจะมีรูปแบบแตกต่างกันมากมายในตอนกลางวัน และจะรุนแรงที่สุดในช่วงบ่าย แต่เหนือน้ำจะมีรูปแบบแตกต่างกันไม่มากนัก เป็นไปได้ที่ว่า แผ่นดินดูดซับความร้อนไว้และก่อให้เกิดการพากระแสอากาศสูง ตรงกันข้ามกันน้ำที่จะดูดซับความร้อนไว้มากแต่ค่อย ๆ คายออกมาอย่างช้า ๆ ซึ่งมีผลต่อฟ้าผ่า
นักวิทยาศาสตร์ยังรายงานด้วยว่า ฟ้าผ่าจะเคลื่อนที่ตามดวงอาทิตย์ด้วย ขณะที่ซีกโลกเหนือเข้าสู่ฤดูร้อนไปเรื่อย ๆ ฟ้าผ่าก็เคลื่อนที่ไปปรากฏทางเหนือขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน รูปแบบเช่นนี้ก็มีในซีกโลกใต้ ทว่า เราไม่ค่อยได้รับรายงานจากซีกโลกใต้นักเพราะซีกโลกใต้มีแผ่นดินน้อยกว่า
การผันแปรรูปแบบฟ้าผ่าจะเปลี่ยนแปลงไปทุกปี และคริสเตียนก็กำลังวิเคราะห์ข้อมูลที่ดูเหมือนจะบ่งว่ารูปแบบของฟ้าผ่าได้รับอิทธิพลมาจาก เอล นิญโญ และ ลา นิญญา ด้วย หลักฐานนี้แสดงว่า รูปแบบฟ้าผ่าอาจเป็นตัวช่วยชี้แนวโน้มสภาพอากาศของโลกได้ด้วย
เราอาจใช้ฟ้าผ่าเพื่อจับตาพายุ โดยเฉพาะพายุฟ้าคะนองที่รุนแรง และฟ้าผ่าก็อาจจะเกิดขึ้นจากการไหลของกระแสอากาศภายในก้อนเมฆซึ่งเป็นเรื่องร่วมกันระหว่างฟิสิกส์และพลวัตรของพายุเอง ซึ่งเราจะใช้ความรู้สองอย่างนี้จับตาชีวิตและวิวัฒนาการของฟ้าผ่าได้ - 22 มิถุนายน 2542 -
แหล่งข่าว
ENN News