|
|
|
ข่าวเด่น
|
สุภาพสตรีที่มีอาการของมะเร็งทรวงอกอาจไม่ต้องฉายแสง ถ้าศัลยแพทย์สามารถตัดเนื้อร้ายทั้งหมด บวกกับเนื้อเยื่อรอบ ๆ อีกนิดหน่อยรอบบริเวณนั้น
งานศึกษาชิ้นนี้เกี่ยวข้องกับสุภาพสตีที่เป็นมะเร็งเต้านม โดยการนำทีมของดร.เมลวิน เจ. ซิลเวอร์สไตน์ จากโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้ พวกเขาพบว่า สุภาพสตรี 133 คนที่รับการผ่าตัดโดยมีการตัดเนื้อเยื่อบริเวณขอบรอบ ๆ ส่วนที่เป็นเนื้อร้ายเพิ่มออกไปอีก 10 มิลลิเมตร มีอัตราการเกิดโรคปรากฏซ้ำเพียง 4 เปอร์เซ็นต์หลังจากผ่านไป 8 ปีแล้ว
แต่ในกรณีที่มีการตัดขอบเนื้อเยื่อเพิ่มไปไม่ถึง 1 มิลลิเมตร ความเสี่ยงในการปรากฏโรคซ้ำมีสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ถ้ามีการฉายแสงในกลุ่มนี้รวมด้วย ความเสี่ยงจะลดเหลือ 30 เปอร์เซ็นต์ พวกเขากล่าวด้วยว่า การฉายรังสีร่วม แม้จะมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็ไม่เพียงพอ
สำหรับการตัดขอบเนื้อเยื่อในช่วงตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร ไปจนเกือบถึง 10 มิลลิเมตรนั้น ผู้ที่รับการผ่าตัดไปแล้วแปดปีจะมีการปรากฏของโรคในอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์ และถ้าฉายรังสีร่วมด้วยก็จะมีอัตราปรากฏของโรค 12 เปอร์เซ็นต์ แต่เปอร์เซ็นต์ที่ต่างกันกรณีนี้ก็เรียกได้ว่าน้อยมากจนเกือบไม่มีความแตกต่างเลย
ขนาดของขอบเนื้อเยื่อที่ตัดเพิ่มออกไปนี้ เป็นตัวช่วยบอกการปรากฏซ้ำของโรคได้ดี ในผู้ป่วยที่ตัดขอบไปกว้าง คม การบำบัดเพิ่มเติมก็คงไม่จำเป็นนัก
- 13 พฤษภาคม 2542 -
แหล่งข่าว
LycosNews