![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
ข่าวเด่น
|
แสงไฟที่เปิดไว้ตอนกลางคืนในห้องนอนเด็ก อาจจะเพิ่มโอกาสสายตาสั้นในเด็กได้
งานศึกษาชิ้นนี้กระทำโดยนักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียในฟิลาเดเฟีย ผลการศึกษาแสดงว่า เด็กอายุต่ำกว่าสองขวบที่นอนในห้องที่เปิดไฟไว้จะมีโอกาสสายตาสั้นกว่าเด็กที่นอนโดยไม่เปิดไฟถึง 5 เท่า
การค้นพบครั้งนี้ให้ข้อสังเกตว่า สภาพปราศจากความมืดสนิทของตอนกลางคืนสำหรับช่วงต้นของอายุ อาจเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาสายตาของเด็ก แต่การศึกษาก็ไม่ได้พิสูจน์ว่า แสงไฟในตอนกลางคืนเป็นตัวการตรงต่ออาการสายตาสั้น และยังมีปัจจัยจากสิ่งอื่นอีกมาก แต่อย่างไรก็ตามผู้ปกครองควรพึงระวังไว้ด้วย
นักวิจัยกลุ่มนี้ยังแนะนำว่า ทารกและเด็กควรนอนหลับในห้องที่ไม่มีแสงไฟจนกว่าจะมีข้อยืนยันหรือคัดค้นผลการวิจัยครั้งนี้ ช่วงสองปีแรกของชีวิตเป็นช่วงสำคัญในการพัฒนาการปรับการมองของดวงตา ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากสัดส่วนของแสงสว่างและความมืดตลอดช่วง 24 ชั่วโมงของวัน และเขายังเตือนด้วยว่า สายตาสั้นอาจนำไปสู่โรคตาแข็ง การหลุดของจอตา หรือจอตาเสื่อม รวมทั้งตาบอดด้วย
การศึกษาในครั้งนี้ อาศัยเด็ก 479 คนที่มายังคลินิกตา อายุของเด็กอยู่ระหว่าง 2-16 ปี พวกเขาจะถามเด็กว่าตอนกลางคืนนอนในห้องปิดไฟ หรือเปิดไฟ ผลการศึกษาพบว่า มีเด็ก 10 เปอร์เซ็นต์ที่นอนในห้องมืดสนิทมีอาการสายตาสั้น เทียบกับเด็กที่ใช้แสงกลางคืนแล้วมีจำนวน 34 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเด็กที่เปิดไฟนอนจะสายตาสั้น 55 เปอร์เซ็นต์
นักวิจัยชุดนี้ (ซึ่งศึกษาเรื่องคล้าย ๆ กันนี้ในสัตว์ด้วย) เสริมว่า ผลครั้งนี้น่าจะช่วยอธิบายการเพิ่มขึ้นของภาวะสายตาสั้นในกลุมประชากรขนาดใหญ่ตลอดช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา เมื่อเราเปลี่ยนรูปแบบการดำรงชีวิตจากเกษตรกรรมไปสู่วิถีชีวิตแบบใหม่ที่ใช้แสงไฟมากขึ้น แต่ก็ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปว่า การปิดไฟนอนในช่วงแรกของเด็ก ๆ จะมีผลต่อสายตาหรือไม่
- 13 พฤษภาคม 2542 -
แหล่งข่าว
LycosNews