![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
|
กรรมวิธีในการทำฝนหลวงที่ใช้กันตอนนี้ก็คือ การใช้เครื่องบินบรรทุกสารเคมีขึ้นไปโปรยยังก้อนเมฆ นอกจากนั้นก็ยังมีการวิจัยทดลองใช้วิธีอื่นด้วยคือ ยิงจรวดบรรจุสารเคมีให้ไประเบิดในกลุ่มเมฆ และพ่นสารเคมีจากยอดเขาให้ฟุ้งกระจายเข้าสู่ฐานเมฆ
สำหรับการโปรยสารเคมีด้วยเครื่องบินนั้น จะใช้สิ่งเหล่านี้ในการปฏิบัติการ
สารเคมี โดยสามารถแบ่งตามคุณสมบัติที่จะเกิดต่อบรรยากาศได้อีกสามแบบคือ
เครื่องบิน เครื่องบินที่ใช้จะต้องบินไปโปรยสารเคมีใส่ก้อนเมฆ บางทีก็ต้องบินฝ่าเข้าไปในเมฆที่มีกระแสลมแปรปรวนด้วย เครื่องบินที่เหมาะสมควรจะบรรทุกสารเคมีได้ 1,000-2,000 กิโลกรัมต่อเที่ยวบิน ความเร็วในการบินไม่สูงนักคืออยู่ในระดับ 200 นอต เพื่อให้สามารถโปรยสารเคมีได้มากต่อระยะทางการบิน ทำให้สารเคมีมีความเข้มเข้นพอเหมาะ และเครื่องบินควรเปลี่ยนทิศทางการบินได้คล่องตัว
สำหรับเครื่องบินที่ใช้อยู่ตอนนี้ก็มี เครื่องบินกาซา สองเครื่องยนต์ น้ำหนักบรรทุก 1,000 กิโลกรัมต่อเที่ยวบิน เครื่องบินปอร์ตเตอร์ เครื่องยนต์เดียว น้ำหนักบรรทุก 400 กิโลกรัม และเครื่องบินนอร์แมด สองเครื่องยนต์ น้ำหนักบรรทุก 400 กิโลกรัม
เครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ก็มี เครื่องมือตรวจอากาศ ได้แก่ เครื่องมือตรวจอากาศชั้นบน เรดาร์ฝนหลวง เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่ เครื่องบดผสมสารเคมี และรถยนต์บรรทุกสารเคมี สุดท้ายก็เครื่องมือสื่อสาร
ทีนี้เครื่องไม้เครื่องมือก็พร้อมแล้วสำหรับปฏิบัติการฝนหลวง
|
การสร้างฝนเทียมนั้น มีขั้นตอนอยู่สามขั้นตอนคือ ก่อกวนสภาพอากาศ เลี้ยงให้อ้วน และโจมตี ซึ่งแบ่งแยกตามวัตถุประสงค์ของการทำฝนให้เกิดการเพิ่ม หรือเสริมกระบวนการทางธรรมชาติของเมฆในขั้นแรก ทำให้เมฆเพิ่มปริมาณในขั้นที่สอง และทำให้ฝนตกในพื้นที่เป้าหมายตลอดจนขยายพื้นที่ ในขั้นที่สาม
ก่อกวนสภาพอากาศ ขั้นนี้จะเริ่มปฏิบัติการในเวลา 9.00 น. ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงเวลาที่โลกได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ และเริ่มสะท้อนกลับสู่บรรยากาศ ทำให้อากาศเริ่มร้อนและยกตัวลอยขึ้น วัตถุประสงค์ของขั้นนี้ก็เพื่อเสริมการยกตัวของอากาศ และสร้างแกนอากาศ โดยใช้การโปรยสารเคมีจำพวกสูตรร้อน ก็คือ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ และแคลเซียมออกไซด์ ร่วมกับการโปรยสารเคมีสร้างแกนอากาศบางส่วน ก็คือ โซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงนั่นเอง และอาจจะใช้สาร ท1 ด้วย
เลี้ยงให้อ้วน จะเริ่มปฏิบัติการขั้นนี้ในเวลา 11.00-13.00 น. เป็นการเร่ง เสริมให้เมฆก่อตัว และก่อยอดสูงขึ้น หรือเพิ่มความหนาแน่นของไอน้ำในเมฆ โดยการโปรยสารเคมีดูดซับความชื้นได้ดี และสารเคมีสูตรเย็นที่ทำให้อุณหภูมิที่ฐานเมฆต่ำลง ในขณะเดียวกันก็จะเกิดกระแสลมพัดในก้อนเมฆ อันเนื่องมาจากการกลั่นตัวด้วย สารเคมีที่ใช้ในขั้นนี้ก็คือ โซเดียมคลอไรด์ แคลเซียมคลอไรด์ แอมโมเนียมไนเตรต ยูเรีย และน้ำแข็งแห้ง โดยจะโปรยบริเวณไหล่หรือยอดเมฆ หรือระหว่างช่องว่างของเมฆ
โจมตี เริ่มปฏิบัติการในเวลา 14.00-16.00 น. เป็นการเร่งให้กลุ่มเมฆเกิดฝนตก และเสริมให้ฝนที่ตกอยู่แล้วหนาแน่นขึ้น โดยการเลือกเมฆที่มีระยะการเติบโตยอดสูง 8,000 ฟุต หนาจากฐานถึงยอด 5,000 ฟุต แล้วโปรยด้วยสารเคมีสูตรเย็น ได้แก่ ยูเรีย แอมโนเนียมไนเตรต และน้ำแข็งแห้ง ทำให้อุณหภูมิที่ฐานเมฆต่ำลง หยดน้ำขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นความเย็นยังช่วยลดกระแสลมที่พัดขึ้นลงจนไม่อาจพยุงหยดน้ำไว้ได้ แล้วก็ตกลงมาเป็นสายฝนนั่นเอง
สำหรับเวลาในการปฏิบัติการนั้น จะตัดสินใจว่าเป็นเวลาใดก็ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศในแต่ละวันว่า จะเหมาะสมในเวลาใด ส่วนสารเคมีที่ใช้ก็อยู่ในรูปของผงละเอียดแห้งขนาดประมาณ 150-450 ไมครอน (1 ไมครอนเท่ากับ 1ในล้านเมตร)
นั่นก็เป็นลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติการสร้างฝนเทียม โดยทั่วไปฝนเทียมจะตกลงมาหลังจากการปฏิบัติการแล้ว 5-6 ชั่วโมง โดยที่ก่อนจะปฏิบัติการนั้น ก็ต้องวางแผนการบิน ว่าจะไปโปรยสารเคมีที่เมฆตรงไหน ทิศทางในการโปรยเป็นอย่างไร ใช้ปริมาณสารเคมีมากน้อยแค่ไหน โดยดูจากข้อมูลสภาพอากาศนั่นเอง ซึ่งจะทำให้เราได้ฝนในปริมาณที่ต้องการ และตกในพื้นที่เป้าหมายของเราอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ตกก่อนหรือเลยเป้าหมายไปแล้ว
|
แผนงานในการทำฝนหลวงนั้น วางไว้เป็นประจำทุกปี โดยสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร และกำหนดไว้ 3 แผนงาน/โครงการ ประกอบด้วย
งาน/โครงการปฏิบัติการฝนหลวงเพิ่มปริมาณน้ำเหนือเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ใช้คณะปฏิบัติการสองคณะ อยู่ที่เชียงใหม่หนึ่งคณะ และอยู่ที่แพร่อีกหนึ่งคณะ แผนงานนี้เป็นการทำฝนในลุ่มรับน้ำทั้งสอง โดยมีช่วงเวลาปฏิบัติการอยู่ที่ระหว่าง 1 พฤษภาคม ถึง กลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
งาน/โครงการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม และอุปโภคบิรโภคของเกษตรกร และราษฎร และเพิ่มปริมาณน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำ เขื่อนกักเก็บน้ำ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก ภาคใต้ และตะวันตก มีอยู่สองแผนคือ แผนปฏิบัติงานภาคตะวันออก ตะวันตก ใต้ตอนบน ช่วงเวลาระหว่าง กุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม และพฤษภาคมถึงปลายตุลาคมของทุกปี มีฐานปฏิบัติงานที่ ระยอง จันทรบุรี และย้ายไปหัวหิน และลพบุรี อีกทอดหนึ่ง อีกแผนหนึ่งเป็นแผนปฏิบัติงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งฐานอยู่ที่ นครราชสีมา ขอนแก่น และจังหวัดอื่นในภาค ช่วงเวลาระหว่าง มีนาคมถึงตุลาคมของทุกปี
งาน/โครงการปฏิบัติการฝนหลวงเพิ่มปริมาณน้ำในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีฐานอยู่ที่นครสวรรค์ ช่วงเวลาระหว่าง พฤษภาคมถึงปลายตุลาคม ของทุกปี
จากแผนปฏิบัติงานทั้งสามแผน ก็ทำให้เกษรกร และพวกเรามีน้ำใช้ในระดับที่เหมาะสม เว้นไว้แต่บางปีเช่นปีนี้ ที่น้ำน้อยเป็นพิเศษที่ทำให้เราอาจต้องเพิ่มจำนวนปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นมาอีก
|
นอกจากจะใช้ฝนหลวงในการช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรมในภาวะแห้งแล้งแล้ว เรายังสามารถนำฝนหลวงไปใช้ในกิจการต่าง ๆ ได้อีกหลายประการ ซึ่งภารกิจเหล่านั้นไม่ใช่ภารกิจหลัก ถือได้ว่า เป็นการทดลองนำไปใช้ในงานอื่น ๆ ซึ่งก็มีการใช้ในงานเหล่านี้
|
ปฏิบัติการฝนหลวงอาจช่วยบรรเทาปัญหาสภาวะแห้งแล้งในหลายพื้นที่ แต่เราก็ไม่อาจพึ่งพาฝนเทียมได้เสมอไป หากวันใดวันหนึ่ง สภาวะที่เหมาะสมในการก่อฝนมีน้อยมาก ๆ เราก็ไม่อาจได้น้ำจากฝนหลวงอย่างพอเพียงอยู่ดี
ดังนั้นก็เป็นความรับผิดชอบ และน่าจะถือเป็นหน้าที่ของพวกเราโดยเฉพาะผู้ที่พำนักในเมืองใหญ่ด้วย ที่จะต้องดูแลปริมาณน้ำที่ใช้ให้ดี ใช้ให้คุ้มค่าที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และพยายามหวงแหนรักษาสภาพที่ก่อให้เกิดฝนตามธรรมชาติไว้อย่างป่าไม้ไว้ให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้
หากไม่ทำเช่นนั้น สงครามโลกครั้งต่อไป อาจเป็นสงครามแย่งชิงน้ำก็เป็นได้