|
|
|
ข่าวเด่น
|
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอาร์คันซอร์ กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่สามารถเพาะจุลชีพผลิตมีเทนภายใต้บรรยากาศของดาวอังคาร งานของเขาอาจเป็นกุญแจไปสู่การค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
นักวิจัยท่านนี้ก็คือศาสตราจาร์ยทางชีววิทยา ดร.ทิม ครัล โดยร่วมงานกับนักศึกษาปริญญาโท เคอร์ทิส เบ็คคัม โดยพวกเขาสร้างแบบจำลองทางชีววิทยาที่ซึ่งสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารอาจจะดำรงอยู่ได้ โดยอาศัยข้อมูลที่เรารู้เกี่ยวกับสภาพพื้นผิวดาวอังคาร
ดาวอังคารนั้นมีสภาพที่ดูแล้วไม่เอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิต เราไม่พบมวลสารใด และมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำมาก ดังนั้นในงานชิ้นนี้ พวกเขาจึงหาจุลชีพที่อยู่รอดได้ภายใต้สภาวะอันเลวร้าย และเจริญเติบโตในสารอนินทรีย์ พวกเขาพบจุลินทรีย์ตระกูล มีเทโนเจนที่ดำรงชีพแบบไม่ต้องการอากาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบชีวิตดั้งเดิมบนโลก พบได้ในห้วงลึกของมหาสมุทร ในรอยแตกของเปลือกโลก และแม้แต่ในท้องวัว ทั้งหมดนั้นเป็นสภาวะที่ไม่น่าจะอยู่รอดได้ เหมือนกับดาวอังคาร
ในการเลี้ยงมีเทโนเจนในสภาพของดาวอังคาร พวกเขาใช้ขี้เถ้าจากภูเขาไฟในฮาวาย (มีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายดินจากดาวอังคาร) และยังต้องใช้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจน และน้ำในการเลี้ยงแบคทีเรียนี้ และพวกมันก็เจริญเติบโตได้อย่างดี ได้รับสารที่มันต้องการสมบูรณ์
พวกเขาสร้างชีวิตจำลองบนดาวอังคารโดยอิงกับน้ำ แม้ว่าดาวอังคารจะไม่มีน้ำบนผิวหน้าของดาว แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดาวอังคารน่าจะมีน้ำจำนวนน้อย ๆ ใต้ผิวหน้าลงไป
เพื่อที่จะดูว่า มีเทโนเจนใช้ชีวิตในสภาพที่น้ำจำกัดได้หรือไม่อย่างไร พวกเขาเปลี่ยนสัดส่วนปริมาณน้ำในดินดาวอังคารจำลอง และพบว่า มีเทโนเจนเจริญได้แม้จะมีน้ำจำกัดมาก ๆ ครัลเสริมว่า นักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ อาจจะใช้งานวิจัยทำนองเดียวกันนี้เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร เมื่อเราจะหาสิ่งมีชีวิตบนนั้น เราก็ควรจะรู้ว่าจะมองหาอะไร เมื่อเรามีแนวทางว่าชีวิตบนนั้นจะมีรูปแบบอย่างไร เราก็จะรู้ได้ว่า จะหามันที่ไหน - 15 มิถุนายน 2542 - .
แหล่งข่าว
Science Daily