|
|
|
ข่าวเด่น
|
นักวิทยาศาสตร์ยุโรปหาวิธีมองด้านหลังของดวงอาทิตย์เป็นครั้งแรก เป็นความพยายามที่จะพัฒนาการพยากรณ์สภาพอากาศของดวงอาทิตย์
นักวิจัยกลุ่มดังกล่าวอาศัยกล้องโทรทรรศน์บน ยานอวกาศโซโห เพื่อจับตาดูกิจกรรมบนดวงอาทิตย์ที่สะท้อนมาจากอะตอมของไฮโดรเจนที่อยู่ด้านหลังของดวงอาทิตย์
เราอาศัยอะตอมเหล่านี้เป็นดังกระจกสะท้อนแสงที่มาจากด้านหลังของดวงอาทิตย์ ทำให้สามารถเตือนการเกิดพายุสุริยะได้ล่วงหน้าถึง 14 วัน ในขณะที่แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์สามารถเตือนล่วงหน้าได้เพียง สองถึงสามวันเท่านั้น
อุปกรณ์ที่เคยใช้พยากรณ์สภาพอากาศระยะยาวคือ Swan ที่ดูแลโดยนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชอง-ลุป เบอร์โทซ์ ซึ่งเขากล่าวว่า เราสังเกตปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์ได้ในช่วงไม่กี่วันเท่านั้น ทำให้มีช่วงแห่งความวุ่นวายกับผู้ดูแลดาวเทียม แต่ตอนนี้เราสามารถมองด้านหลังของดวงอาทิตย์ ซึ่งจะมีผลกับโลกของเราเมื่อด้านนั้นหมุนหันมาทางโลก และเนื่องจากดวงอาทิตย์มีการหมุนรอบตัวเองราว 28 วัน ดังนั้นเราจึงมีเวลาเตรียมตัวป้องกันได้นานขึ้น
เบอร์โทซ์และผู้ร่วมงาน จัดการให้ Swan ตรวจหาการปลดปล่อยแสงจากอะตอมไฮโดรเจนใกล้กับดวงอาทิตย์ เมื่อวิเคราะห์การเปล่งแสงนี้ก็จะช่วยให้ทีมงานรู้ว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นบนดวงอาทิตย์
พื้นที่บนผิวดวงอาทิตย์ที่มีปฏิกิริยามากจะมีแสงสว่างมาก และเราสามารถระบุตำแหน่งเหล่านี้ได้ดูจากอะตอมของไฮโดรเจน และทำให้เราได้ภาพที่ถูกต้องของดวงอาทิตย์ด้านหลัง และเมื่อเราวิเคราะห์ภาพนี้กับข้อมูลที่ได้จากด้านหน้าของดวงอาทิตย์ ที่เราสามารถเห็นได้แน่ ๆ ว่ามีอะไรเกิดขึ้น เราก็สามารถสร้างแผนที่ด้านหลังของผิวดวงอาทิตย์ และรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่นั่นกันแน่ - 27 มิถุนายน 2542 -
แหล่งข่าว
Sunday Times