![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ยานอวกาศลำใหม่ได้เดินทางออกจากโลก เริ่มต้นการเดิน ทางอันยาวนาน สู่เป้าหมายที่แสนไกล เพื่อไปยังดาวเคราะห์ที่มีเสน่ห์มากที่สุดดวงหนึ่ง ที่ชื่อว่า ดาวเสาร์
แม้ดาวเสาร์จะอยู่ไกลจากโลกมาก แต่ก็มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดาวเสาร์มีระบบวงแหวนที่น่าสนใจ บรรยากาศของดวงดาว ก็เป็นสิ่งที่กระตุ้นความอยากรู้ นอกจากนั้น บรรดาดาวบริวารของดาวเสาร์ ที่มีพื้นผิวแตกต่างกันมากมาย สนามแม่เหล็กที่อุดมไปด้วยอนุภาคส่งผลกระทำต่อวงแหวน และดวงจันทร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดวงจันทร์ไททัน ที่มีขนาดใหญ่กว่า ดาวพุธเล็กน้อย มีบรรยากาศเป็นหมอกที่หนาแน่นกว่าบนโลก ทั้งหมดเป็นปัจจัยกระตุ้นปฏิบัติการ ครั้งนี้ที่ชื่อว่า ปฏิบัติการแคสสินี
ปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการร่วมมือขององค์การอวกาศนานาชาติได้แก่ นาซา องค์การอวกาศของยุโรป (European Space Agency : ESA) องค์การอวกาศของอิตาลี (Italian Space Agency : ASI) รวมทั้งมหาวิทยาลัยในยุโรปหลายแห่ง และหุ้นส่วนทางอุตสาหกรรมอีกจำนวน หนึ่ง การบริหารโครงการกระทำดย ห้องปฏิบัติการจรวดขับดับ (Jet Propulsion Laboratory : JPL) ยานอวกาศ นำอุปกรณ์ตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน 27 ประเภท สำหรับสนับสนุนการสำรวจ ระบบดาวเสาร์ ยานอวกาศประกอบด้วย ยานโคจร (orbiter) และโพรบ (probe) สำรวจดวงจันทร์ ไททัน
ภาพจำลองปฏิบัติการ สำรวจดาวเสาร์ของยานอวกาศแคสสินี
ชื่อของปฏิบัติการ ตั้งเป็นเกียรติแด่นักดาราศาสตร์ฝรั่งเศส-อิตาลี ในศตวรรษที่ 17 ชื่อ ชอง โดมินิค แคสสินี เขาเป็นผู้ค้นพบ ช่องว่างภายในวงแหวน หลักของดาวเสาร์ และยังเป็นผู้ค้นพบดาวบริวารอิเอเพตุส เรอา ดิโอเน และเททิส ส่วนโพรบสำรวจ ดวงจันทร์ไททันมีชื่อว่า ฮอยเกนส์ (Huygens) ตั้งตามชื่อของ นักวิทยาศาสตร์ชาวฮอลแลนด์ คริสเตียน ฮอยเกนส์ ผู้ค้นพบ ดวงจันทร์ไททัน เมื่อ พ.ศ. 2198 และในปี พ.ศ. 2202 เขา เป็นผู้ประกาศว่า "ดวงจันทร์ ประหลาด" ที่กาลิเลโอเคยส่องเห็นเมื่อ พ.ศ. 2153 นั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือ วงแหวนของดาว เสาร์นั่นเอง ฮอยเกนส์ยังมีชื่อเสียงด้าน การค้นคว้านาฬิกาลูกตุ้มที่แม่นยำด้วย
สิ่งที่เรารู้ในขณะนี้ เกี่ยวกับไททันดาวบริวารของดาวเสาร์ดวงนี้ ยิ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ กระหายที่จะรู้ให้มากขึ้น ดวงจันทร์ไททัน ปกคลุมด้วยหมอกสีส้มน้ำตาลที่หนาแน่น หมอกนี้ มีส่วนประกอบของ ก๊าซไนโตรเจน มีเทน และสารประกอบของโมเลกุลคาร์บอน พื้นผิวดาว เป็นทะเลสาบของอีเทนเหลว ที่เคลือบด้วยชั้นบาง ๆ ของมีเทน และแอมโนเนียที่เย็นเฉียบ เป็น เกล็ดน้ำแข็ง และเป็นไปได้ว่า ลึกลงไปข้างใต้อาจเป็นน้ำที่แข็งตัว
และด้วยการที่มีอนุภาคพลังงานสูง กับแสงอัลตราไวโอเลตพุ่งเข้าชนโมเลกุลของไนโตรเจน และมีเทนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยา สร้างโมเลกุลสารอินทรีย์หลายชนิด โมเลกุลเหล่า นี้จับตัวกัน แล้วกลั่นตัวเป็นฝน ตกลงสู่พื้นผิวเบื้องล่างอย่างช้า ๆ สภาพแวดล้อมบนดวงจันทร์ ไททัน น่าจะเหมือนกับสภาพบนโลกยุคแรก ๆ แม้จะไม่เหมาะกับสิ่งมีชีวิตเท่าไรนัก แต่ไททัน ก็เป็นแหล่งข้อมูลชั้นดี ที่จะศึกษาปฏิกิริยาเคมีที่น่าจะเกิดขึ้นบนโลกยุคเริ่มต้น
สำหรับผลประโยชน์ที่จะได้ จากปฏิบัติการแคสสินีก็คือ การร่วมมือกันระดับนานาชาติ การค้นพบใหม่ เทคโนโลยีใหม่ที่รวมถึงชิปคอมพิวเตอร์ศักยภาพสูง เครื่องไจโรสโคปที่ทำ งานโดยไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนที่ สวิตช์ และตัวบันทึกในสภาวะของแข็ง (solid-state) และข้อ มูลที่จะส่งจากแคสสินีระหว่าง พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551 จะช่วยกระตุ้นความอยากรู้ อยาก ศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ รวมทั้งเรื่องกำเนิดของระบบสุริยะ และ กำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลก
ไปหน้า
1 - เปิดเรื่อง
2 - ปฏิบัติการนี้ทำอะไร?
3 - ปฏิบัติการมหันตภัย