![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
|
จากระยะห่างระหว่างดาวเสาร์ กับดวงอาทิตย์ที่มาก แผงเซลล์สุริยะสำหรับเก็บพลังงานจากดวง อาทิตย์ เพื่อให้ได้พลังงานมากพอ จะต้องมีขนาดใหญ่โตมาก มากจนไม่อาจนำมาใช้ได้ ดังนั้น ยานโคจรของแคสสินีจึงหันไปใช้ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากความร้อน ของไอโซโทปแผ่รังสี (radioisotope thermoelectric generator : RTG) 3 ตัว อุปกรณ์ตัวนี้ อาศัยความร้อน จากการสลายตัวของพลูโทเนียม ในการกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง RTG ที่ใช้เป็น แบบเดียวกับที่ใช้ในยานกาลิเลโอ และยูเรซิส แต่จะมีอายุการใช้งานนานกว่า หลังจากที่จบปฏิบัติการ แคสสินี (ประมาณ11 ปี) ก็ยังคงผลิตพลังงานได้ถึง 628 วัตต์ นอกจากนั้น เพื่อรักษาสภาพอุปกรณ์ภายใน โพรบสำรวจ ไม่ให้เย็นเกินไป ภายในโพรบก็ยังมี หน่วยผลิตความร้อน ด้วยไอโซโทปแผ่รังสี (radioisotope heater unit :RHU)
การเดินทางของยานแคสสินี เพื่อไปยังดาวเสาร์นั้น ยานแคสสินีจะเดินทางไปยังดาวศุกร์ ใช้ แรงดึงดูดของดาวศุกร์ ช่วยเหวี่ยงยานไปอยู่ในวงโคจรที่เหมาะสม (จะกระทำสองครั้งที่ดาวศุกร์) รอบดาวศุกร์ ก่อนจะเหวี่ยงยานแคสสินีกลับมาที่โลก ด้วยกระบวนการเดียวกัน ยานแคสสินีจะ ได้รับแรงส่งจากโลก ไปยังดาวพฤหัสบดี เหวี่ยงอีกหนึ่งครั้งไปยังดาวเสาร์
โพรบฮอยเกนส์ดิ่งสู่ไททันโดยอาศัยร่มชูชีพ
แคสสินีจะกลับมาที่โลกในปี พ.ศ. 2542 เฉียดโลกในระดับความสูง 500 กิโลเมตร และนี่ เป็นจุดที่ทำให้เกิดข้อสงสัย ในความปลอดภัยของยานลำนี้ เนื่องจากแคสสินีเคลื่อนที่ด้วยความ เร็ว 68,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แถมแคสสินียังมีสารกัมมันตรังสีอยู่มากที่สุด ในบรรดายาน อวกาศที่นาซาเคยสร้างมา จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเกิดอุบัติเหตุกับแคสสินี ในตอนที่กลับมาถึงโลก
อุบัติเหตุอะไรบ้างที่อาจจะเกิดขึ้น อาจจะเป็นระบบล้มเหลวเพียงเล็กน้อย การคำนวณที่ คลาดเคลื่อน หรือการที่เศษชิ้นส่วนในอวกาศ พุ่งเข้าชนตัวยาน (เมื่อเร็ว ๆ นี้ ขยะอวกาศได้ พุ่งเข้าชนจรวดของนาซามาแล้ว เป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการบุกเบิกอวกาศ) สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ พลูโทเนียมบนยานตกกลับสู่โลก แต่นาซากล่าวว่าโอกาสที่จะเกิดเรื่องทำนองนี้มีเพียง หนึ่งในล้านเท่านั้น และแน่นอนว่ามีหลายคนไม่เชื่อ
พลูโทเนียมบนยานแคสสินีเป็นพลูโทเนียม 238 (คนละไอโซโทปกับที่ใช้ทำ อาวุธนิวเคลียร์) อยู่ในรูป พลูโทเนียมไดออกไซด์ จำนวนมากกว่า 30 กิโลกรัม พลูโทเนียมไอโซโทปนี้ มีครึ่งชีวิตสั้น นั่นคือจะแผ่รังสีที่ส่วนใหญ่ คืออนุภาคอัลฟา ออกมาในอัตราที่สูง ถึงแม้ว่า เราสามารถใช้กระดาษบังอนุภาคนี้ได้ แต่ถ้าอนุภาคเล็กมาก ๆ ของพลูโทเนียม 238 หลุดเข้าไป ในทางเดินหายใจของมนุษย์ ก็จะก่อให้เกิดมะเร็งปอด รวมทั้งอาการป่วยอื่น ๆ ได้ไม่ยากนัก
ข้อมูลจากนาซาเองบอกว่า ถ้ามีการรั่วไหลของ พลูโทเนียมไดออกไซด์ในยานแคสสินี 20-60 เปอร์เซ็นต์ของพลูโทเนียมออกไซด์ จะมีขนาดเล็กพอที่เราจะหายใจเข้าไปได้ และก็เป็นไปได้ว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น พลูโทเนียมไดออกไซด์ อาจจะรั่วออกมาในปริมาณสูงถึง 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่มีอยู่ทั้งหมด
ผลที่จะเกิดขึ้นก็คือ พลูโทเนียมไดออกไซด์จะก่อให้มีการตาย การเจ็บป่วย เกิดการผ่าเหล่า ขึ้นได้เป็นเวลานานนับศตวรรษ ไม่เพียงมีผลกับมนุษย์เท่านั้น แต่มีผลไปถึงสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลา สัตว์ปีก รวมทั้งสัตว์ที่เป็นอาหารของมนุษย์
ถ้าเป็นไปตามนี้ ความรู้เกี่ยวกับดาวเสาร์ที่เราจะได้จากโครงการแคสสินี จะไร้คุณค่าโดย สิ้นเชิง เมื่อเทียบกับโอกาสที่แคสสินีจะทำให้คนบนโลกเป็นมะเร็ง ดาวเสาร์ไม่ได้หนีเราไปไหน เรายังไปสำรวจได้ในภายหลัง เมื่อเรามีวิธีการที่ดีกว่า
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่แสดงว่า จรวดขนส่งยานแคสสินี (จรวดรุ่นไททัน IV) มีอัตราล้ม เหลวมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ งบประมาณของนาซาก็มีจำกัด นาซาจึงไม่ได้ทดสอบเครื่องมือต่าง ๆ ว่า จะทนการสั่นสะเทือนขณะส่งขึ้นจากฐานได้หรือไม่ ยกเว้นตัวโพรบเท่านั้นที่ได้ทดสอบ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า เราจะต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุ เมื่อแคสสินีเดินทางกลับมาที่โลก โดยที่เราจะ ไม่ได้ข้อมูลจากดาวเสาร์เลย
ถึงกระนั้น ณ เวลานี้ ยานแคสสินีก็ได้ล่องลอยอยู่ในอวกาศ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่มีอุบัติเหตุ จากการส่ง เหลือเพียงรอเวลาให้ถึงปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ.1999 ก่อนปี ค.ศ.2000 ปีที่มีกระแสแห่ง ความพินาศของโลก เพียงปีเดียว)ที่แคสสินีจะเดินทางกลับมายังโลก เพื่อเพิ่มความเร็วของยาน ก่อนทะยานไปยังดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ในที่สุด เมื่อถึงวันนั้น เราจึงจะรู้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับ ยานแคสสินี
ข้อมูลการเขียน
1.Reaching for the Rings,Popular Science ,October 1997
2.Cassini : Voyage to Saturn (http://www.jpl.nasa.gov/cassini/)
3.Stop Cassini Home Page
(http://www.animatedsoftware.com/cassini/index.htm)
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ พลูโทเนียมบนยานแคสสินี ได้ที่ แหล่งข้อมูลที่ 2 และ 3
ไปหน้า
1 - เปิดเรื่อง
2 - ปฏิบัติการนี้ทำอะไร?
3 - ปฏิบัติการมหันตภัย