ประชาสัมพันธ์




Solar Tours

ท่องสุริยะ

ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย

ดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ พระอาทิตย์ ตะวัน สุริยา เป็นชื่อของดาวฤกษ์ประจำระบบสุริยะของเรา เป็นวัตถุใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในระบบนี้ มวลรวมของระบบสุริยะของเรานั้น 98 เปอร์เซ็นต์ได้มาจากมวลของดวงอาทิตย์นี่เอง แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์เป็นตัวการทำให้ดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจรอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์เป็นผู้มอบพลังงานเกือบทั้งหมดที่เราใช้บนโลก ขนาดหน้าตัดของดวงอาทิตย์ใหญ่กว่าขนาดหน้าตัดของโลก 100 เท่า และต้องใช้โลกถึง 1.3 ล้านใบเพื่อเติมเนื้อในของดวงอาทิตย์ให้เต็ม ชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์เรียกว่า โฟโตสเฟียร์ และมีอุณหภูมิประมาณ 6,000 องศาเซลเซียส ชั้นนี้จะมีลักษณะเหมือนเป็นริ้วระลอกเนื่องจาก ความปั่นป่วนของกระแสพลังงานที่ระเบิดอยู่ตลอดเวลาที่พื้นผิว

จุดดับบนดวงอาทิตย์

พื้นผิวของดวงอาทิตย์มักจะมีส่วนที่มืด ๆ ปรากฏ พื้นที่มืดนี้เราเรียกว่า จุดดับบนดวงอาทิตย์ เป็นจุดที่มีความร้อนแต่ร้อนน้อยกว่าส่วนอื่น ๆ ของดวงอาทิตย์ มันจึงดูมืดกว่าส่วนที่เหลือ จุดดับบนดวงอาทิตย์เหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าโลกของเราทั้งใบเสียอีก

พวยก๊าซร้อน

ในบางครั้งก็จะมีลำก๊าซร้อนพวยพุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์ พวยก๊าซร้อนนี้บางครั้งก็ตกกลับลงสู่ดวงอาทิตย์ บางครั้งก็เคลื่อนตัวหลุดออกมา ไกลขนาดที่มาถึงโลกของเราได้เลย


ข้อมูลทั่วไปของดวงอาทิตย์
มวล (กิโลกรัม))1.989 x 10 30
มวลเทียบกับโลก (โลก = 1)332,830
รัศมีที่เส้นศูนย์สูตร (กิโลเมตร)695,000
รัศมีที่เส้นศูนย์สูตร (โลก = 1)108.97
ความหนาแน่นเฉลี่ย (กรัม/ลูกบาศก์เซ็นติเมตร)1.410
คาบการหมุนรอบตัวเอง (วัน)25-36*
ความเร็วหลุดพ้น (กิโลเมตรต่อวินาที)618.02
อุณหภูมิเฉลี่ยที่พื้นผิว 6,000 oC
อายุ (พันล้านปี)4.5
องค์ประกอบเคมี
ไฮโดรเจน
ฮีเลียม
ออกซิเจน
คาร์บอน
ไนโตรเจน
นีออน
เหล็ก
ซิลิคอน
แมกนีเซียม
กำมะถัน
อื่น ๆ

92.1 %
7.8 %
0.061 %
0.030%
0.0084%
0.0076%
0.0037
0.0031%
0.0024%
0.0015%
0.0015%

* คาบการหมุนของดวงอาทิตย์ที่พื้นผิว แปรผันอยู่ในช่วง 25 วันที่เส้นศูนย์สูตร ถึง 36 วันที่ขั้วดาว ลึกลงไปใต้พื้นผิว คาบการหมุนที่จุดต่าง ๆ จะประมาณ 27 วัน


ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย


inScience Homepage : ในโลกวิทยาศาสตร์
โดย inScience หนึ่งในสมาชิก Tripod
ติดต่อได้ที่ inscience@postmark.net
[[กลับสู่หน้าหลักของ inScience]]
mail me