![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
|
อุปกรณ์สำคัญของยานแพทไฟน์เดอร์ก็คือ เครื่องมือสร้างภาพ IMP ที่มีฟิลเตอร์ 12 ตัวสำหรับตาแต่ละข้างจาก สองตาของกล้อง ภาพที่เรียงต่อกันนี้เป็นภาพของยอดเขาแฝด Twin Peaks (เลียนแบบชื่อภาพยนตร์) สูงประมาณ 30-35 เมตร ห่างไปทางตะวันตกหนึ่งกิโลเมตร ภาพนี้ เรายังเห็นหินระเกะระกะที่น่าจะเกิดจาก น้ำท่วมใหญ่ (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพสี)
จุดลงจอด(โดยการกระเด้ง)ของมาร์ส แพทไฟน์เดอร์นั้น ได้มาจากข้อมูลและภาพถ่ายจากยานโคจรในภารกิจ ของไวกิ้งเมื่อประมาณยี่สิบปีที่แล้ว พื้นที่ในการลงจอดดูแล้วน่าจะปลอดภัย เป็นที่ราบเพียงพอ ในตอนกลาง ของบริเวณที่น่าจะเกิดจากน้ำท่วมใหญ่ซึ่งคาดว่า อาจจะเกิดขึ้นเมื่อราวสองพันล้านปีที่แล้ว และเราก็คาดหวังว่า จุดลงจอดน่าจะมีตัวอย่างหิน ดิน หลายรูปแบบที่โดนน้ำพัดมา อันจะทำให้ได้ข้อมูลที่ครบจากจุดสำรวจจุดเดียว
ข้อมูลที่มองเห็นได้ในครั้งแรกเป็นภาพทิวทัศน์มุมกว้าง ณ จุดลงจอด เป็นภาพที่ได้มาจากกล้องสร้างภาพ ของมาร์ส แพทไฟน์เดอร์ (Imagers for Mars Pathfinder camera : IMP) ภาพที่เห็นทำให้เรารู้ว่า ยานจอดอยู่ในทะเลทรายที่เต็มไปด้วยหินและกรวดกลมมากมาย ส่วนหนึ่งซ้อนทับกันคล้ายกับลักษณะของ หินที่โดนน้ำซัดมา ภูมิประเทศโดยรอบก็ค่อนข้างแสดงถึงการทับถมของหินที่เกิดจากกระแสน้ำ และส่วนมากก็คล้ายกับ ลักษณะของแผ่นดินที่โดนน้ำท่วมบนโลกเราเอง
ถึงแม้จะมีหลักฐานมากมายถึงเรื่องกระแสน้ำ แต่ก็ไม่ใช่หลักฐานเดียว กระบวนการอื่นๆ เช่น ลม ภูเขาไฟ หรือแม้แต่การตกของอุกกาบาต ก็มีส่วนในการสร้างรูปแบบภูมิประเทศเช่นกัน
สิ่งสำคัญที่ได้อีกประการหนึ่งคือ ดูเหมือนกระแสลมจะเป็นปัจจัยสำคัญมากในการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิประเทศในบริเวณนี้ ไม่ว่าจะเป็น เนินทราย ระลอกทราย รอยกัดเซาะขนาดประมาณหนึ่งเซนติเมตรใน หินหลายก้อน เป็นตัวบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนสภาพโดยกระแสลม
ก้อนหินด้านหน้ามีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า เอ็นเดอร์ (Ender) มีร่องรอยหลักฐานความเป็นไปได้ของการตกตะกอนเป็น
ชั้น ๆ ของหิน ภาพนี้ถ่ายจากโซเจอร์เนอร์แสดงให้เห็นแพทไฟน์เดอร์ที่จอดอยู่ กล้อง IMP
คือทรงกระบอกข้างบน (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)
บรรยากาศของดาวอังคารค่อนข้างเบาบาง ความกดอากาศมีเพียง 0.6-0.7 เปอร์เซ็นต์ของความกดอากาศโลก ณ ระดับน้ำทะเลเท่านั้น ดังนั้นหลักฐานต่าง ๆ จึงแสดงถึงการกัดเซาะโดยกระแสลมเป็นเวลานานมาก อาจจะหลายพันล้านปี หรือสภาพภูมิประเทศแต่เดิมอาจจะต่างไปจากนี้มาก และด้วยกระแสลมหรือกระแสน้ำรุนแรง เพียงชั่วเวลาสั้น ๆ ได้มาเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศไปโดยสิ้นเชิง กลายเป็นดังที่เราเห็นได้ตอนนี้ และก็ไม่มี กระบวนการใดๆ เกิดขึ้นอีกเลยหลังจากนั้น
หลักฐานเรื่องกระแสลมเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศของดาวอังคาร ยังมีให้เห็นจาก ภาพถ่ายล่าสุดโดยยานมาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ด้วย ภาพความละเอียดสูงแสดงถึงเนินทรายและการกัดเซาะ โดยลมในเกือบทุกพื้นที่บนผิวดาวอังคาร
สำหรับที่มาของก้อนหินในบริเวณที่สำรวจก็มีความคิดขัดกันอยู่ นักธรณีวิทยาหลายคนเชื่อว่า หินส่วนมาก หรือทั้งหมดมาจากภูเขาไฟ เมื่อดูจากรูปร่างและเนื้อของมัน หินส่วนหนึ่งมีสีแดงเข้ม และกลมกว่าหินก้อนอื่นๆ หินพวกนี้อาจเป็นพวกที่อายุมากที่สุด หินที่เหลือมีสีเข้มกว่า และเป็นเหลี่ยมมุมมาก พวกนี้น่าจะเพิ่งมาถึงบริเวณนี้ เมื่อไม่นานนัก จากการชนของอุกกาบาตห่างไปประมาณสองกิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้
แต่ก็มีหินบางส่วนแสดงหลักฐานเล็ก ๆ ของการซ้อนเป็นชั้น การตกตะกอนทับถม มีข้อมูลสนับสนุนจาก กรวดเล็ก ๆ ที่แทรกตัวในเนื้อของหินก้อนอื่น นักวิทยาศาสตร์ตีความว่า เกิดขึ้นจากกระแสน้ำที่พัดมาได้ทำให้ เกิดการรวมตัวแบบนี้ขึ้น แต่นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า หินบางส่วนรวมทั้งสภาพภูมิประเทศแถบนั้น น่าจะเกิดจากกระบวนการทางสภาพอากาศที่รุนแรง หรือเกิดจากภูเขาไฟใต้น้ำ หรือโดยสภาพอากาศทั่วไปเป็นเวลานาน
ดูเหมือนว่า เราจะมีตัวอย่างหินมากมายในแหล่งที่สำรวจตามที่คาดหวัง แต่ก็คงจะเป็นการยากเกินไปที่จะใช้ ข้อมูลจากมาร์ส แพทไฟน์เดอร์ขณะนี้เพื่อไขปัญหาว่า หินเหล่านั้นมีที่มาอย่างไรกันแน่
ผลลัพธ์ที่ดีมากอีกอันหนึ่งจากมาร์ส แพทไฟน์เดอร์ก็คือ การยืนยันว่าภาพถ่ายจากยานในวงโคจร (กรณีนี้คือ ภาพจากไวกิ้ง) สามารถใช้ในการกำหนดจุดลงจอดของภารกิจได้ และด้วยข้อมูลใหม่ ๆ ที่ได้จากยานที่ โคจรรอบดาวอย่างเช่น ยานมาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ ก็จะยิ่งทำให้ การกำหนดจุดลงจอดของปฏิบัติการต่อไปในอนาคตทำได้ดีขึ้น
ไปหน้า
1 - เปิดเรื่อง
2 - ข้อมูลจากธรณีวิทยา
3 - ข้อมูลจากการศึกษาแร่
4 - ข้อมูลจากการศึกผิวดาว
5 - ข้อมูลจากการศึกษาขั้วดาว
6 - ข้อมูลจากการศึกษาบรรยากาศ
7 - บทส่งท้าย