![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
|
ในกรณีของโลก เราสามารถศึกษาสภาพอากาศท้องที่รวมทั้งผลกระทบต่อพื้นผิวได้โดยดูจาก แร่ธาตุในดินและหิน วิธีการเดียวกันนี้อาจใช้กับกรณีของดาวอังคารได้ มาร์ส แพทไฟน์เดอร์น่าจะให้คำตอบเราได้โดยอาศัยอุปกรณ์และวิธีการที่ทันสมัยกว่าในสมัยของยานไวกิ้ง
นี่เป็นภาพความคมชัดสูงของหินชื่อ โยกิ (Yoki ตั้งตามชื่อหมีในการ์ตูน) สร้างโดยอาศัยการประกอบภาพที่
เกือบจะเหมือนกันทุกประการหลาย ๆ ภาพเพื่อให้ได้ความคมชัด ร่องรอยต่างๆ ที่เกิดบนตัวก้อนหิน
ยังคงต้องหาที่มาต่อไป โยกิมีขนาดกว้าง 1.3 เมตร (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพสี)
ผลที่ได้ออกมาในคราวนี้แสดงให้เห็นว่า หินส่วนมากที่นำมาวิเคราะห์มีองค์ประกอบของซิลิคอนในปริมาณที่สูง สูงกว่าสัดส่วนซิลิคอนในก้อนอุกกาบาตที่เราพบบนโลกเสียอีก รวมทั้งสูงกว่าหินภูเขาไฟจากฮาวาย ถ้าหาก หินในบริเวณที่แพทไฟน์เดอร์สำรวจเป็นหินภูเขาไฟจริงแล้ว องค์ประกอบทางเคมีของมันจะคล้ายกับ หินภูเขาไฟบนโลกที่เรียกว่า แอนดีไซต์(ตั้งชื่อตามเทือกเขาแอนดีส) มาก คำอธิบายอาจเป็นในทำนองที่ว่า อย่างน้อย บางพื้นที่บนดาวอังคารจะเกิดเหตุการณ์ที่ลาวาได้เปลี่ยนแปลงไปโดยธาตุที่หนักอย่างเหล็กจมลง ธาตุที่เบากว่า อย่างซิลิคอนลอยตัวขึ้นไปยังด้านบน ลักษณะแบบนี้ยังแสดงให้เห็นต่อไปด้วยว่าน่าจะมีระบบภูเขาไฟที่อยู่ใน ระดับเกือบถึงพื้นผิวที่มีปฏิกิริยาอยู่มากกว่าที่เราเคย คิดไว้
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ระบบภูเขาไฟที่ซับซ้อนบนดาวอังคารจะทำให้เปลือกดาวอังคารมีลักษณะแบบเดียว กับโลก บนโลกเองก็มีหลายพื้นที่ซึ่งปริมาณซิลิคอนไม่เกี่ยวเนื่องกับแผ่นเปลือกโลกแต่อย่างใด
การทดลองหนึ่งของมาร์ส แพทไฟน์เดอร์คือ การส่งแผ่นสีขาวที่มีแม่เหล็กอยู่ด้านหลังไปสัมผัสกับอากาศ
หลังจากผ่านไปหลายวัน (จำนวนวันดูจากตัวเลขตามหลังอักษร Sol)
ฝุ่นที่มีอำนาจแม่เหล็กก็ก่อตัวบนแผ่นนี้กลายเป็นรูปร่าง "ตาไก่" สีเข้ม
สีของฝุ่นและระดับความเป็นแม่เหล็กของมันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำ
ความเข้าใจกับฝุ่นในเรื่องของแร่ต่าง ๆ (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพสี)
สำหรับการวัดคุณสมบัติทางแม่เหล็ก และตรวจสีของดินบนดาวอังคาร รวมทั้งฝุ่นที่ลอยตามกระแสลมได้ผล เป็นที่น่าประหลาดใจไม่น้อย จากผลของยานไวกิ้งพบว่า ฝุ่นที่กระจายตัวอยู่ในบรรยากาศทั่วดาวอังคารใน ลักษณะของพายุฝุ่นนี้ มีส่วนประกอบทางแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับสูง และแพทไฟน์เดอร์ก็มาตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง ผลก็ยืนยันในลักษณะเดิมที่ว่า เม็ดฝุ่นแม่เหล็กนี้อย่าง น้อยมีส่วนประกอบเป็นแร่ของเหล็กออกไซด์ที่เรียกว่า แมกฮีไมต์ แร่นี้พบบนโลกได้ยาก มักจะเกิดขึ้นจากสารละลายที่มีเหล็กสูงในกระบวนการแห้งอย่างรวด เร็วหลังจากผ่านความเย็น ถ้ากระบวนการเดียวกันนี้เกิดขึ้นบนดาวอังคารก็หมายความว่า ฝุ่นละเอียดของ ดาวอังคารเหล่านี้อาจจะก่อตัวขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ชื้นมากว่าทุกวันนี้ และบางที อาจจะอุ่นกว่าด้วย
จากการศึกษาสีของดินและฝุ่นที่สะสมบนผิวก้อนหิน ทำให้ได้ข้อมูลว่า สารเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับเถ้า ภูเขาไฟที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นอย่างมาก ทั้งดินและลมฝุ่นของดาวอังคารมีลักษณะคล้ายกับเป็นสนิม เหล็กที่มีอยู่ในองค์ประกอบส่วนมากเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันไปแล้ว แต่จะเกิดขึ้นเมื่อใดและเพราะเหตุใดเป็น เรื่องที่ยังเป็นปริศนาอยู่ สนิมนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการแห้งหลังผ่านความเย็นจัดนั้น หรือจาก การกระทำต่อกันระหว่างน้ำแข็ง หรือน้ำกับตัวก้อนหินที่ได้รับความร้อนจากภูเขาไฟ หรือโดยการชนกับอุกกาบาต หรืออาจจะเกิดจากปฏิกิริยาง่าย ๆ ระหว่างน้ำกับก้อนหินเป็นเวลานานนับพันล้านปีก็ได้อีกเช่นกัน
ไปหน้า
1 - เปิดเรื่อง
2 - ข้อมูลจากธรณีวิทยา
3 - ข้อมูลจากการศึกษาแร่
4 - ข้อมูลจากการศึกผิวดาว
5 - ข้อมูลจากการศึกษาขั้วดาว
6 - ข้อมูลจากการศึกษาบรรยากาศ
7 - บทส่งท้าย