![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
|
ภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งนี้ยังได้อาศัยรถสำรวจโซเจอร์เนอร์ด้วย รถหุ่นยนต์คันนี้ได้ออกท่องไปบน ดาวอังคารและทำการเก็บข้อมูลมาไม่ใช่น้อย โซเจอร์เนอร์ทำการทดลองกับดินโดยการขุดมันขึ้นมา และยังไป สะกิดผิวหินมาดูด้วย
เมื่อดูจากรอยล้อรถโซเจอร์เนอร์ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ชั้นผิวหน้าของดาวอังคารมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียดอย่าง มากคล้ายกับแป้งประกอบด้วยอนุภาคที่มีขนาดไม่กี่ไมครอน ผิวหน้านี้น่าจะก่อตัวขึ้นจากฝุ่นในบรรยากาศ ที่ค่อยๆ ตกลงสู่พื้น ที่น่าสนใจก็คือ ฝุ่นเหล่านี้มีความเป็นไฟฟ้าอยู่ด้วย พวกมันเกาะแน่นอยู่บนผิวรถ โซเจอร์เนอร์
ผลของลมที่มีต่อดินดาวอังคารจะเห็นได้ชัดในภาพที่ผ่านการแต่งสีภาพนี้ ในการศึกษาจะใช้สีแดงและน้ำเงิน
มาช่วยสร้างความเปรียบต่างระหว่างดินชนิดต่าง ๆ กระแสลมได้กระจายสารเนื้อละเอียดนี้ออกไปโดยมี
รูปแบบที่ซับซ้อนรอบหินเล็ก ๆ ก้อนหินด้านขวานั้นมีขนาด 16 เซนติเมตร (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพสี)
แพทไฟน์เดอร์ทำการขุดหลุมลึกประมาณหนึ่งเซนติเมตร เพื่อทำการทดสอบ ดินบริเวณนั้นประกอบด้วยฝุ่น ทรายและเลน ตะกอน และกรวดเล็ก ๆ ขนาดหนึ่งมิลลิเมตร ความหนาแน่นอยู่ราว ๆ 1.2-2.0 กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตร นับว่าใกล้เคียงกับดินแห้งบนโลก
และเมื่อพยายามใช้ล้อของโซเจอร์เนอร์ขูดกับแผ่นสว่างสีชมพูที่มีชื่อว่า "สกูบี้ ดู" ทำให้พบว่า โครงสร้างชิ้นนี้ไม่ใช่แผ่นแบน ๆ ของดินหรือฝุ่นที่มารวมกัน แต่กลับมีชั้นเปลือกนอกที่คล้ายซีเมนต์ หรืออาจจะมีชั้นหิน คลุมอยู่ แผ่นลักษณะนี้ในบริเวณนั้นยังคงมีปริศนาแฝงอยู่เหมือนเดิม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่า แผ่นหิน แบบนี้คล้ายกับที่พบในจุดที่ยานไวกิ้งลงจอด ซึ่งมีองค์ประกอบของกำมะถันและคลอรีนอยู่มาก บางทีโครงสร้างนี้อาจเกิดจากสารละลายเกลือ หรือแร่เข้มข้นที่ระเหยไปก็เป็นได้
ไปหน้า
1 - เปิดเรื่อง
2 - ข้อมูลจากธรณีวิทยา
3 - ข้อมูลจากการศึกษาแร่
4 - ข้อมูลจากการศึกผิวดาว
5 - ข้อมูลจากการศึกษาขั้วดาว
6 - ข้อมูลจากการศึกษาบรรยากาศ
7 - บทส่งท้าย