![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
|
ขณะที่มาร์ส แพทไฟน์เดอร์จอดอยู่บนดาวอังคารนั้น เป็นโอกาสดีที่นักวิทยาศาสตร์จะศึกษาการหมุนของ ดาวอังคารไปด้วย นักวิทยาศาสตร์อาศัยการวัดปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ (การเปลี่ยนระดับความถี่ของคลื่นเนื่อง จากแหล่งกำเนิดคลื่นมีการเคลื่อนที่เทียบกับผู้สังเกต) ที่เกิดจากสัญญาณวิทยุที่ส่งมาจากแพทไฟน์เดอร์ อันเกิดขึ้นเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดาวอังคาร และการโคจรไปในอวกาศ ความถี่ของสัญญาณวิทยุที่เปลี่ยน ไปเล็กน้อยทำให้เรารู้ความเร็วของยานที่จอดอยู่เทียบกับโลก
จากความเร็วของแพทไฟน์เดอร์ ทำให้เรารู้ตำแหน่งที่แน่นอนของยานจนสามารถชี้ชัดลงไปในระดับไม่กี่เมตร เทียบกับเส้นรุ้งเส้นแวงของดาวอังคาร และยังทำให้เราได้ความถูกต้องของช่วงเวลากลางวันกลางคืนของ ดาวอังคาร รวมไปถึงการจัดวางตำแหน่งขั้วของดาวด้วย
ขณะที่ดาวเคราะห์ทั้งหลายหมุนรอบตัวเองก็จะมีอาการส่ายของแกนดาวเคราะห์ เราสังเกตการส่ายนี้ได้จาก ตำแหน่งของขั้วดาวที่ชี้ไปในอวกาศ ขั้วนี้จะเปลี่ยนตำแหน่งไปเทียบกับเวลา เมื่อเราเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จาก แพทไฟน์เดอร์กับข้อมูลจากยานไวกิ้ง นักวิจัยจึงสามารถประเมินอัตราการส่ายของขั้วดาวอังคารออกมาได้ว่า การส่ายของดาวอังคารนี้จะครบรอบในเวลา 170,000 ปี เทียบกับโลกแล้ว แกนของโลกจะส่ายครบรอบใน เวลา 26,000 ปี
อัตราการส่ายนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างในดวงดาวเอง ทั้งในด้านความหนาและความหนาแน่นของเปลือกดาว แกนกลาง และอื่นๆ จากข้อมูลของมาร์ส แพทไฟน์เดอร์ทำให้เราค่อนข้างเชื่อได้ว่า แกนกลางของดาวอังคารมี ลักษณะเป็นโลหะขนาดใหญ่ คิดแล้วก็อยู่ในช่วงรัศมี 1,300 ถึง 2,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ของรัศมีของดาวอังคารทั้งหมด เรียกว่าใหญ่มากหากเทียบกับกรณีโลกของเรา เพราะแกนกลางโลก มีขนาดเพียง 19 เปอร์เซ็นต์เทียบกับรัศมีของโลก
ข้อมูลนี้รวมกับข้อมูลที่ว่าดาวอังคารไม่มีสนามแม่เหล็กอย่างเข้ม เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น แต่มีความสำคัญมาก ในการศึกษาองค์ประกอบภายในของดาวอังคารต่อไป และอาจจะเกี่ยวเนื่องไปกับองค์ประกอบภายในของดาวดวงอื่นด้วย
ไปหน้า
1 - เปิดเรื่อง
2 - ข้อมูลจากธรณีวิทยา
3 - ข้อมูลจากการศึกษาแร่
4 - ข้อมูลจากการศึกผิวดาว
5 - ข้อมูลจากการศึกษาขั้วดาว
6 - ข้อมูลจากการศึกษาบรรยากาศ
7 - บทส่งท้าย