![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
|
ย้อนหลังไปต้นศตวรรษที่ 19 รูปแบบของหุ่นยนต์ ทั้งในความเป็นจริง และในโลกนิยายก็ มีขึ้นแล้ว เป็นพวกชิ้นส่วนที่ใช้ลานนาฬิกา พวกหุ่นชัก หุ่นไขลาน งานเขียนเรื่อง Automata (พ.ศ. 2357) และ The Sandman (พ.ศ. 2359) ของ อี.ที.เอ. ฮอฟฟ์มันน์ ทำให้เราเริ่มเห็น ภาพของหุ่นยนต์ชัดเจนขึ้น และมีความคิดถึงสิ่งชั่วร้ายตั้งแต่เริ่มทีเดียว แต่ในเรื่องก็เป็น เพียงจักรกลธรรมดา
นี่เป็นละครเรื่อง R.U.R. ที่แสดงในลอนดอนเมื่อ พ.ศ.2466
เครื่องจักรกล ที่มีรูปร่างเหมือนมนุษย์นั้น เพิ่งเกิดจริงจังหลังปี พ.ศ. 2469 แต่ก่อนหน้านั้นก็ เคยมีในเรื่อง The Bell Tower (พ.ศ. 2398) ของเฮอร์แมน เมลวิลล์ และในเรื่อง A Round Trip to the Year 2000 (พ.ศ. 2446) ของ วิลเลียม วอลเลซ คุก
นิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนมาในช่วงแรก ส่วนใหญ่จะให้ภาพในแง่ลบ หรือต่อต้านหุ่นยนต์ อย่างเช่น The Psychophonic Nurse (พ.ศ. 2471) ของ เดวิด เอช. เคลเลอร์ แสดงถึง หุ่นยนต์ เลี้ยงเด็ก แต่ไม่อาจมาแทนความรักจากแม่ได้ Automaton (พ.ศ.2474) โดย แอบเนอร์ เจ. เจลูลา พูดถึงหุ่นยนต์ที่สร้างให้เหมือนลูกสาวของผู้สร้าง แล้วก็ถูกทำลายในภายหลัง Rex (พ.ศ. 2477) ของฮาร์ล วินเซนต์ พูดถึงการสร้างหุ่นยนต์ เพื่ออำนาจทางการเมือง แต่ในขณะเดียว กัน ก็มีงานที่เขียนมาในทิศทางตรงข้าม เช่น งานของ อันโด ไบน์เดอร์ เรื่อง The Robot Aliens (พ.ศ. 2478) เมื่อหุ่นยนต์ต่างดาวมาอย่างสันติ แต่มนุษย์โลกไม่คิดเช่นนั้น
งานเขียนที่ไม่ได้ตีพิมพ์ ในนิตยสารสำหรับนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Button Brains (พ.ศ.2477) ของเจ. สโตร์เรอร์ เคลาส์ตัน เป็นงานเขียนที่ก่อให้เกิดแนวเรื่องหลัก สำหรับงานเขียน เกี่ยวกับหุ่นยนต์ นั่นคือ งานในแนวตลกขบขัน อันเกิดจากความผิดพลาดของหุ่นยนต์ หลังจาก นั้น ก็มีงานเขียนทำนองนี้อีกหลายเรื่อง รวมทั้งภาพยนตร์ และหนังชุดทางทีวีด้วย
ต้นตำรับงานเขียน ที่ให้ภาพด้านที่ชั่วร้ายของหุ่นยนต์ ชิ้นสำคัญมาก ๆ ชิ้นหนึ่งคือ Frankenstein หรืออีกชื่อหนึ่งว่า The Modern Prometheus (พ.ศ. 2361) ของแมรี โวลล์สโตนครัพต์ เชลลี ในเรื่องนี้ ตัวสัตว์ประหลาดที่ถูกสร้างขึ้นมา ได้ย้อนกลับมาทำร้ายผู้สร้าง ทำให้เกิดเป็นแนวเรื่อง ของนิยายวิทยาศาสตร์ และมีศัพท์เรียกว่า "แฟรงเกนสไตน์ ซินโดรม" นิยาย หุ่นยนต์ยุคแรก ๆ ก็ดำเนินเรื่องแบบนี้มากทีเดียว
ไปหน้า
1 - เปิดเรื่อง
2 - หุ่นยนต์ยุคแรก
3 - กฏหุ่นยนต์กับสังคมเครื่องจักร
4 - แอนดรอยด์และไซบอร์ก
5 - หุ่นยนต์ที่เหลือ