![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
หุ่นยนต์ที่เหลือ |
หุ่นยนต์อีกกลุ่ม ที่คนไทยคุ้นเคยก็คือ หุ่นยนต์ในการ์ตูนญี่ปุ่น ที่เริ่มจากหนังสือการ์ตูน แล้วก็กลายไปเป็นหนัง
หุ่นยนต์ญี่ปุ่นที่เคยฮือฮาช่วงแรก ๆ ก็คือ Astro Boy (พ.ศ. 2494) ในชื่อภาษาไทยว่า เจ้าหนูอะตอม เขียนโดย โอซามุ เทซึกะ หุ่นยนต์เด็กในเรื่อง ตอนแรกต้องปกปิดตัวเอง แต่ ด้วยสถานการณ์ ก็ต้องใช้ความสามารถ ปกป้องอันตรายที่จะเกิดกับมนุษย์ เมื่อกลายเป็นหนังก็ ทำออกมาถึง 193 ตอน
การที่หุ่นยนต์ ต้องต่อสู้กับวายร้าย เพื่อปกป้องโลก เป็นแนวเรื่องหลักของการ์ตูนญี่ปุ่น หุ่นยนต์เหล่านั้นเช่น งานของโก นากาอิ เรื่อง Mazinger Z (หุ่นยนต์แซด พ.ศ. 2515) Great Mazinger (เกรทมาชินกา พ.ศ. 2517) Grendizer (เกรนไดเซอร์ พ.ศ. 2518) เมื่อเจ้าชายต่างดาว พลัดถิ่นมา ในหุ่นยนต์จานบิน และต้องสู้กับมนุษย์ต่างดาว หุ่นยนต์พวกนี้ ใช้คนบังคับหนึ่งคนใน ขณะที่การ์ตูนชุด เก็ตเตอร์ ใช้คนบังคับ 3 คน และเปลี่ยนร่างได้
สำหรับ Combata V (คอมแบตตาวี) เป็นต้นแบบของหุ่นยนต์ที่ใช้คน 5 คน ร่วมบังคับ หุ่นยนต์ญี่ปุ่นยุคหลัง ๆ จึงเริ่มมีคนควบคุมเป็นทีม
นิยายวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ที่เป็นทั้งนิยาย และการ์ตูน เรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งคือ Ginga Tetsudo 999 หรือ Galaxy Express 999 ฉบับการ์ตูนมี 18 เล่ม จบราว ๆ ต้นทศวรรษ 1980 เขียนโดย เลจิ มัตซึโมโต เนื้อเรื่องกล่าวถึง สังคมที่มนุษย์จะอยู่รอดได้ ต้องดัดแปลงร่างเป็น ไซบอร์ก ทำให้ โฮชิโนะ เทซึรุ เด็กอายุราว 10 ขวบ ต้องโดยสารไปกับ ขบวนรถไฟ 999 เพื่อไป ดัดแปลงร่างที่ดาว แอนโดรมีดา
Galaxy Express 999 การ์ตูนที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับไซบอร์ก
รถด่วน 999 เป็นนิยายที่เสนอภาพของ สังคมอนาคตที่เหลวแหลก และตั้งคำถามถึง การเลือกที่จะอยู่กับเทคโนโลยี
การ์ตูนญี่ปุ่นที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น กันดัม มาร์ครอส คอบร้า ดรากอน บอล และเรื่องที่โด่งดังมาก ๆ อีกสองเรื่องก็คือ โดราเอมอน (พ.ศ. 2512) ของ ฟูจิโมโต ฮิโรชิ ร่วมกับโมโต อาบิโกะ และดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเร่ (พ.ศ. 2523) ของอากิระ โทริยามา
การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องใหม่ ๆ ก็มีเกิดขึ้นมากมาย และก็ยังจะต้องมีหุ่นยนต์ เกิดขึ้นอีกมากมาย รวมทั้งในโลกจริง ของมนุษย์เราด้วย หุ่นยนต์จะกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น และเราก็จะ แยกความแตกต่างระหว่าง หุ่นยนต์กับมนุษย์ ได้ลำบากขึ้นในอนาคต ทั้งในแง่โครงสร้าง และ จิตใจ
ฟิลิป เค. ดิก
งานของ ฟิลิป เค.ดิก ได้ย้ำถึงความเหมือนกันระหว่าง หุ่นยนต์กับมนุษย์ ไว้หลายชิ้นโดย เฉพาะช่วงหลัง เขาจะใช้คำว่าแอนดรอยด์ แทนคำว่าหุ่นยนต์ เขาได้ตั้งข้อสังเกตไว้ข้อหนึ่งใน สารคดีเรื่อง The Android and the Human (พ.ศ. 2516) ว่า "วันหนึ่ง มนุษย์อาจจะยิงปืนใส่ หุ่นยนต์ ที่เพิ่งเดินออกมาจากโรงงาน เจเนอรัล อิเล็กทริกส์ และด้วยความประหลาดใจ เขาเห็น น้ำตา และเลือด หุ่นยนต์ที่กำลังจะตาย อาจจะยิงปืนสวนกลับมา และด้วยความประหลาดใจ มัน เห็นควันสีเทา พุ่งออกมาจากปั๊มไฟฟ้า ที่ทำหน้าที่ช่วยให้หัวใจเต้นอยู่ได้ มันจะเป็นช่วงเวลาแห่ง ความจริงที่ยิ่งใหญ่ของทั้งคู่"
ภาพที่ดิกวาดไว้ คงอยู่ไม่ไกล เมื่อเทคโนโลยีอะไหล่เทียมกำลังก้าวหน้า ชิ้นส่วนอินทรีย์กับ จักรกล อาจผสมผสาน จนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เราไม่แน่ใจว่า จะเรียกว่า คน หรือหุ่นยนต์
ไปหน้า
1 - เปิดเรื่อง
2 - หุ่นยนต์ยุคแรก
3 - กฏหุ่นยนต์กับสังคมเครื่องจักร
4 - แอนดรอยด์และไซบอร์ก
5 - หุ่นยนต์ที่เหลือ