![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
|
กฎของหุ่นยนต์กับสังคมเครื่องจักร |
จากแนวเรื่องที่ หุ่นยนต์ย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์ผู้สร้าง เป็นการสะท้อนความกลัวเทคโนโลยี ของคนในยุคนั้น ท่ามกลางงานเขียนเหล่านี้ ไอแซก อาสิมอฟ นักเขียนชื่อดัง กลับรู้สึกตรงข้าม เขาไม่ชอบเรื่องทำนองนั้น จึงเขียนเรื่องเกี่ยวกับหุ่นยนต์ เพื่อเสนอภาพด้านดีของหุ่นยนต์
เรื่องสั้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ เรื่องแรกของอาสิมอฟ คือ Strange Playfellow (พ.ศ.2483 : ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Robbie) เป็นเรื่องของหุ่นยนต์พี่เลี้ยงเด็ก ที่เขาพยายามแสดงให้เห็นว่า หุ่นยนต์ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว อาสิมอฟเขียนเรื่องหุ่นยนต์ออกมาอีกเรื่อย ๆ และได้วางกฎเกี่ยวกับ หุ่นยนต์ขึ้นมา เป็นการกำหนดที่ทำให้หุ่นยนต์ ไม่มีวันเป็นอันตรายต่อมนุษย์ กฎนี้มีชื่อว่ากฎ ของหุ่นยนต์ มีข้อความดังนี้
กฎข้อที่หนึ่ง หุ่นยนต์ต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ ไม่เพิกเฉยปล่อยให้มนุษย์เป็นอันตราย
กฎข้อที่สอง หุ่นยนต์ต้องฟังคำสั่งของมนุษย์ เว้นแต่คำสั่งนั้น จะขัดแย้งกับกฎข้อที่หนึ่ง
กฎข้อที่สาม หุ่นยนต์ต้องรักษาสถานภาพความคงอยู่ของตัวเอง ตราบใดที่ไม่ขัดแย้ง กับ
กฎข้อที่หนึ่ง และกฎข้อที่สอง
(กฎทั้งสามข้อ เป็นรากฐานของงานยุคหลัง ๆ ของอาสิมอฟ และในที่สุด เขาได้ตั้งกฎข้อ ที่ศูนย์ขึ้นมา ในงานชุด Foundation โดยกฎข้อศูนย์มีใจความว่า หุ่นยนต์ต้องไม่ปล่อยให้เผ่าพันธุ์ มนุษย์เป็นอันตราย กฎที่ตามมาอีกสามข้อก็ดัดแปลงให้เข้ากับกฎข้อที่ศูนย์)
เรื่องสั้นหุ่นยนต์เรื่องแรก ๆ ของอาสิมอฟ เป็นการตีความกฎของหุ่นยนต์ โดยเริ่มจาก เรื่องสั้น Reason (พ.ศ. 2484), Liar (พ.ศ. 2484) เนื้อเรื่องจะพูดถึง พฤติกรรมผิดปกติของ หุ่นยนต์แล้วอธิบายโดยใช้กฎทั้งสามข้อ เป็นแนวทางของเรื่องสั้นหุ่นยนต์ อีกหลายเรื่องที่รวม อยู่ในชุด I, Robot และ Complete Robot (ทั้งสองเล่ม ในภาคภาษาไทยคือ ข้าคือหุ่นยนต์ 1 และ 2) ทำให้เราเห็นว่า หุ่นยนต์ไม่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้
ในเวลาไล่ ๆ กัน ก็มีนิยายหุ่นยนต์ ที่นำเสนอภาพด้านดีของหุ่นยนต์ เช่น Helen O'Loy (พ.ศ. 2481) ของ เลสเตอร์ เดลเรย์ เขียนถึงชายที่แต่งงานกับหญิงจักรกล I,Robot (พ.ศ.2482) โดยอันโด ไบน์เดอร์ เป็นงานที่ขัดแย้งกับ งานเรื่องแฟรงเกนสไตน์อย่างตรง ๆ เรื่อง True Confession (พ.ศ. 2483) ของ เอฟ. ดอร์ลิน ทรีเมน พูดถึงหุ่นยนต์ที่ยอมรับว่า เป็นฆาตกร เพื่อปกป้องเจ้าของผู้สร้างมัน
นิยายหุ่นยนต์บางเรื่องที่แปลเป็นภาษาไทย
ภาพประกอบนิยายเรื่อง War with Robot
นอกจากนี้ก็มี Almost Human (พ.ศ. 2484) ของ เรย์ คัมมิงส์ Farewell to the Master (พ.ศ.2483) ของ ฮาร์รี เบตส์ Jay Score (พ.ศ. 2484) ของ อีริก แฟรงก์ รัสเซล หุ่นยนต์ในนิยาย เหล่านี้ ไม่มีกฎของหุ่นยนต์ หรือระบบคล้าย ๆ กันอยู่ในตัว แต่ก็ไม่ได้น่ากลัว หรือเป็นที่ รังเกียจแต่อย่างใด
หุ่นยนต์ในนิยายช่วงนี้ นอกจากจะปลอดภัยแล้ว ยังเป็นเพื่อนกับมนุษย์ด้วย และมีความ ใกล้เคียงมนุษย์มาก ในเรื่องสั้น Evidence (พ.ศ. 2489) ของอาสิมอฟ พูดถึงความพยายามใน การพิสูจน์ว่า ผู้สมัครลงเลือกตั้ง เป็นมนุษย์หรือหุ่นยนต์ ส่วนใน No Woman Born (พ.ศ. 2487) ของซี.แอล.มัวเร จิตใจของนักเต้นรำคนหนึ่ง ได้ถูกย้ายไปใส่ในหุ่นยนต์ และได้ข้อสรุปว่า ร่างหุ่นยนต์ ดีกว่าร่างมนุษย์ นอกจากนั้น หุ่นยนต์ช่วงนี้ยังมีอารมณ์ ความรู้สึก และบางตัวก็ร้องไห้ได้
นิยายที่ต่อต้านหุ่นยนต์อย่างจริงจังนั้น เป็นงานของ แอนโทนี บุชเชอร์ จากเรื่อง Q.U.R และ Robinc (ทั้งสองเรื่องเขียนในปี พ.ศ. 2486) ที่แสดงออกมาในทำนอง หุ่นยนต์เป็นสิ่งที่ขัดกับ หลักศาสนา
ถึงแม้หุ่นยนต์ จะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่ความปรารถนาดีของหุ่นยนต์ ที่มีต่อมนุษย์ บาง ครั้งก็มีมากเกินไป อย่างในเรื่อง With Folded Hands (พ.ศ. 2490) ของแจ็ค วิลเลียมสัน ใน เรื่องนี้ หุ่นยนต์ต้อง รับใช้ เชื่อฟัง และปกป้องมนุษย์จากอันตราย (บางคน คิดว่าอาสิมอฟ นำข้อ ความนี้ ไปพัฒนาเป็นกฎของหุ่นยนต์) แต่หุ่นยนต์ทำมากเกินไป ไม่ยอมให้มนุษย์ทำงาน สูบบุหรี่ หรือแม้แต่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ วิลเลียมสันยังเขียนเรื่องทำนองเดียวกันไว้ใน The Humanoids (พ.ศ. 2492) ทั้งสองเรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยรวมกันในชื่อ ในอุ้งมือเหล็ก
ในช่วงปี พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2500 หุ่นยนต์มีลักษณะเป็นพระเอกในนิยาย แต่ก็แฝงไว้ด้วย ความขัดแย้ง หุ่นยนต์หลายตัวที่ฆ่า หรือพยายามฆ่ามนุษย์ เช่น เรื่อง Lost Memory (พ.ศ.2495) ของ ปีเตอร์ ฟิลิปส์ Second Variety (พ.ศ. 2496) ของ ฟิลิป เค.ดิก Short in the Chest (พ.ศ. 2497) ของ ไอดริส ซีไบรต์ First to Serve (พ.ศ. 2497) ของ อัลจีส์ บูดรีส์ The Naked Sun (พ.ศ. 2499 ภาคภาษาไทยคือ อาทิตย์เปลือย) ของไอแซก อาสิมอฟ และ Mark XI (พ.ศ.2590) ของ คอร์ด เวนเนอร์ สมิท
นิยายหุ่นยนต์แนวอื่น ๆ ในช่วงปีเดียวกันก็เช่น แนวการทำงานผิดพลาดของหุ่นยนต์ เช่น Satisfaction Guaranteed (พ.ศ. 2494) ของอาสิมอฟ Imposter (พ.ศ.2496) ของ ฟิลิป ดิก The Darfsteller (พ.ศ. 2498) ของ วอลเทอร์ เอ็ม.มิลเลอร์ และ Comfort Me, My Robot (พ.ศ.2498) ของโรเบิร์ต บลอช แนวศาลพิพากษา เช่น How-2 (พ.ศ. 2497) ของ ซิมแมค Galley Slave (พ.ศ. 2500) ของ อาสิมอฟ Robots Should Be Seen (พ.ศ. 2501) ของเดลเรย์ Made in USA (พ.ศ. 2496) ของ เจ.ที. แมคอินทอช และ Synth (พ.ศ. 2509) ของ คีทโรเบิร์ต สองเรื่องหลังนี่ เป็นเรื่องของแอนดรอยด์ แนวการต่อสู้ของคนกับหุ่นยนต์ ในการแข่งขันชกมวย เช่น Title Fight (พ.ศ. 2499) ของวิลเลียม แคมป์เบล กัลต์ Steel (พ.ศ.2499) ของ ริชาร์ด แมททีสัน และ The Champ (พ.ศ. 2501) ของ โรเบิร์ต เพรสลีย์
นอกจากนี้ ความกังวลต่อสังคมเครื่องจักร ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของนิยายหุ่นยนต์ในช่วงนี้ เรื่องที่สะท้อนประเด็นนี้อย่างเด่นชัด เป็นงานของอาสิมอฟในเรื่อง Caves of Steel (พ.ศ.2497) ตัวเอกในเรื่อง เป็นคนที่ต่อต้านเครื่องจักร และสภาพแวดล้อมที่มีแต่เครื่องยนต์อย่างเห็น ได้ชัด นิยายเรื่องนี้ มีแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ นครโลหะ หรือนักสืบหุ่นยนต์
พอถึงราว ๆ ปี พ.ศ. 2500 ความกลัว ความกังวล ต่อสังคมเครื่องยนต์ก็เริ่มลดลง ความสัม พันธ์ระหว่างมนุษย์ กับหุ่นยนต์ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น เช่น ในงานเขียนของ ฮาร์รี ฮาร์ริสัน เรื่อง War With the Robots (รวมเล่มปี พ.ศ.2505) Who Can Replace a Man? (พ.ศ.2501) ของ ไบรอัน ดับเบิลยู อัลดริส เขียนถึงหุ่นยนต์ ที่รวมตัวกันเมื่อขาดการติดต่อกับมนุษย์ แต่เมื่อมันเจอมนุษย์อีก มันก็ยังคงรับใช้มนุษย์เหมือนเดิม The Silver Eggheads (พ.ศ. 2504) ของ ฟริตซ์ ไลเบอร์
นิยายหุ่นยนต์ที่เขียนในทำนอง ค้นหาตัวเองก็ออกมาในช่วงนี้ เมื่อหุ่นยนต์เหมือนมนุษย์มาก ขึ้นทั้งร่างกาย และจิตใจ เช่น The Soul of the Robot (พ.ศ. 2517) That Thou Art Mindful of Him (พ.ศ. 2517) ของบาร์ริงตัน เจ. เบย์เลย์ และ The Bicentennial Man (พ.ศ. 2519 ภาคภาษาไทยคือ มนุษย์สองร้อยปี) ของ อาสิมอฟ งานของอาสิมอฟสองเรื่องนี้ แสดงถึงการวิเคราะห์ตัวเอง โดยหุ่นยนต์เพื่อนำไป สู่ข้อสรุปว่า หุ่นยนต์ในเรื่องก็เป็นมนุษย์ด้วย รวมทั้งงานรวมเล่มบางเรื่องใน Cyberiada (พ.ศ.2508) ของสตานิสลอว์ เล็ม นักเขียนโปแลนด์
ถัดมา หุ่นยนต์แบบที่เรียกว่า ไซบอร์กก็เข้ามาโลดแล่นในนิยายหุ่นยนต์ งานอีกแนวเกี่ยวกับ หุ่นยนต์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น Robot Son (พ.ศ. 2502) ของ โรเบิร์ต เอฟ.ยัง For a Breath I Tarry (พ.ศ. 2509) ของเซลานี A Choice of Gods (พ.ศ. 2515) ของซิมแมค The Shrine of Sebastian (พ.ศ. 2516) ของ กอร์ดอน อุคแลนด์ Good News From the Vatican (พ.ศ.2514) ของโรเบิร์ต ซิลเวอร์เบอร์ก
ไปหน้า
1 - เปิดเรื่อง
2 - หุ่นยนต์ยุคแรก
3 - กฏหุ่นยนต์กับสังคมเครื่องจักร
4 - แอนดรอยด์และไซบอร์ก
5 - หุ่นยนต์ที่เหลือ